เม่นทะเล, การปฐมพยาบาลเบื้องต้น, เรียนหลักสูตรออนไลน์ฟรี

        เม่นทะเล (Sea Urchin, Echinoidea) เป็นสัตว์ทะเล ชนิดหนึ่ง “ไม่ใช่หอย” แต่คนนิยมเรียกกันว่า “หอยเม่น” อาศัยอยู่ใต้พื้นทะเลน้้าตื้นบ้าง ลึกบ้าง ตามก้อนหิน หรือตามแนวปะการัง ชอบพรางตัวอยู่บริเวณปะการังที่ตายแล้ว เม่นทะเลมีหลากหลายสายพันธ์ุกว่า 60 ชนิด บางชนิดมีพิษ บางชนิดไม่มีพิษ เม่นทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีรูปทรงกลมคล้ายถ้วยคว่ำ มีหนามสีดำปลายแหลมรอบๆ ทั้งตัวเพื่อไว้ป้องกันศรัตรู เคลื่อนไหวช้าด้วยขาที่เป็นแท่งอยู่ด้านใต้ลำตัว

พิษเม่นทะเล

         พิษของเม่นทะเลจำอยู่ที่หนาม ซึ่งลักษณะของหนามจะมี 2 แบบคือ “หนามขนาดใหญ่ และหนามขนาดเล็ก” 

  1. หนามขนาดใหญ่ จะมีทั้งแบบยาว และแบบสั้น ส่วนใหญ่หนามเหล่านี้จะไม่มีพิษ หนามจะมีความเปราะ หักง่าย เมื่อตำผิวหนังของเราหนามจึงมักหักอยู่ใต้ผิวหนัง มองเห็นเป็นจุดดำๆ และมักจะถูกตำหลายจุด
  2. หนามขนาดเล็ก หนามสั้นของเม่นทะเลบางชนิดจะมีพิษ โดยหนามจะแทรกอยู่ระหว่างหนามใหญ่ พิษของเม๋นทะเลจะมีตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

การปฐมพยาบาล

        ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ถูกเม่นทะเลตำ มักเป็นที่บริเวณเท้า ขา หรือเข่า เนื่องจากเดินไปเหยีบเม่นทะเล หรือขาไปสัมผัสกับหนามของเม่นทะเลขณะว่ายน้ำหรือดำน้ำ การปฐมพยาบาลคือ

  1. รีบขึ้นจากน้ำทันที เนื่องจากเราไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป็นเม่นที่มีพิษหรือไม่ เพระพิษบางชนิดมีความรุนแรงทำให้หมดสติ และหยุดหายใจได้
  2. ห้ามนวด ถู หรือลงน้ำหนัก บริเวณที่ถูกหนามเม่นทะเลตำ เพราะจะทำให้เกิดอาการปวด และอักเสบรุนแรงขึ้น และถ้าหากมีเป็นเม่นมีพิษ จะทำให้เกิดการกระจายตัวของพิษเร็วยิ่งขึ้น
  3. ค่อยๆ เอาหนามเม่นทะเลออกจากผิวหนัง หากมีหนามของเม่นทะเลโผล่พ้นออกมาจากผิวหนังให้ใช้นิ้วมือ หรือปากคีบ (Focep: ถ้ามี) ค่อยๆ ดึงออกเบาๆ โดยดึงไปในทิศทางเดียวกับมุมของหนามที่ปักอยู่บนผิวหนังของเรา เพราะหนามของเม่นทะเลจะหักง่าย
  4. เร่งการสลายตัวของหนามเม่นทะเล ส่วนประกอบของหนามเม่นทะเลคือ แคลเซียม ให้ใช้ “น้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาว” ชุบผ้าชุ่มๆ วางบริเวณผิวหนังที่หนามหักคา นาน 30 – 60 นาที วันละ 3-4 ครั้ง จะช่วยให้หนามสลายตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งโดยปกติหนามที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนัง จะสลายตัวไปภายใน 2-3 วัน
  5. บรรเทาอาการปวด ด้วยการประคบอุ่น หรือแช่ส่วนที่มีหนามเม่นทะเลในน้ำอุ่น ที่ระดับอุณหภูมิ 40-45 ํเซลเซียส หรืออุณหภูมิที่ผู้ป่วยทนได้ แต่ต้องไม่ร้อนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดแผลจากความร้อน (Burn) ได้
  6. ใช้ยาบรรเทาอาการปวด (1) (ยกเว้นผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการใช้ยา) ยาบรรเทาอาการปวดที่เราสามารถใช้ได้ค่อนข้างปลอดภัยคือ พาราเซตามอล (Paracetamol: Acetaminophen) ขนาด 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด กินซ้ำได้ 4-6 ชั่วโมง ยานี้ไม่ระคายเคืองต่อผนังกระเพาะอาหาร จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาหลังอาหาร  ไม่ต้องใช้ยาซ้ำหากไม่มีอาการปวดรุนแรง เนื่องจากยานี้มีพิษต่อตับได้
  7. ทำความสะอาดแผล หลังจากที่ปฐมพยาบาลแล้ว อาการไม่รุนแรง (Anaphylaxis shock) และผู้ป่วยเคยมีประวัติได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักไม่เกิน 10 ปี ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพิ่ม แต่ควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือ ใช้ยาโปรวิดีน (Providine solution) เพื่อป้องกันแผลติดเชื่อ ทำแผลวันละครั้ง ห้ามให้แผลถูกน้ำเพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ หากแผลไม่ดีขึ้นภายใน 3-5 วัน ควรไปพบแพทย์ 

เอกสารอ้างอิง
1. กรมแพทย์ทหารเรือ. (2556). เวชศาสตร์ทางทะเล (Maritime Medicine) , กรุงเทพฯ : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์ พับลิสซิ่ง จ้ากัด.
2. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/832/Anaphylaxis

2 Responses